Saturday, March 26, 2011

43 Folders - วิธีทำให้เอกสารโผล่มาในเวลาที่ต้องการ

เคยมีมัยครับทีว่า พอเก็บเอกสารแล้ว กลับหาไม่เจอ ทั้งๆที่ตอนเก็บก็จัดระบบอย่างดี แต่ดันหาไม่เจอตอนจะหยิบอีกครั้ง หรือ ไม่ก็ลืมไปบ้างว่าต้องใช้เอกสารนี้

ลุง David Allen ได้สอนวิธีการจัดการเอกสารไว้วิธีนึงครับ ... ลุงเค้าเรียกวิธีนี้ว่า 43 Folders วิธีนี้จะช่วยให้เอกสารที่เราต้องการนั้น โผล่ออกมาเองในเวลาที่เราต้องการ !!!! ฟังดูไม่เชื่อไม่มั้ยครับ ลองมาดูกันว่าวิธีนี้ทำยังไง


สิ่งที่ต้องการ
  1. "แฟ้มแขวน" 43 อัน
  2. เขียนชื่อแฟ้ม 31 อันแรกด้วยตัวเลข  โดยแฟ้มที่1ก็ใส่เลข1 แฟ้มที่2ก็ใส่เลข2 ทำไปเรื่อยๆจนครบ31
  3. เขียนชื่อแฟ้นอีก 12 อันที่เหลือด้วย ชื่อเดือน ไล่ไปเรื่องตั้งแต่ Jan จนถึง Dec
การจัดแฟ้ม

สมมุติว่าวันนี้คือวันที่ 16 Jan นะครับ
  1. วันนี้วันที่เท่าไหร่ ให้เอาแฟ้มเลขที่ของวันนั้นมาแขวนอันแรก เช่นวันนี้วันที่ 16 ก็เอาแฟ้ม16 ขึ้นเป็นอันแรก แล้วก็แขวนต่อมา ด้วยแฟ้มตัวเลขถัดมาจนถึง31
  2. เอาแฟ้มชื่อเดือนหน้า มาวางต่อวันที่31 ซึ่งก็คือ แฟ้ม Feb นั่นเอง
  3. เอาแฟ้มเลข1 มาแขวนต่อจากFeb แล้วเอาแฟ้มตัวเลขมาแขวนต่อๆกันจนหมดตัวเลข
  4. เอาแฟ้นเดือนที่เหลือมาแขวนจนหมด โดยเรียงเดือน
เสร็จแล้วครับ  ....​ ทีนี้ที่เราจะได้คือ แฟ้มที่เรียงตามนี้ครับ 
16 17 18 ... 29 30 31 Feb 1 2 3 ... 13 14 15 Mar Apr May ... Nov Dec Jan

ความหมายของแต่ละแฟ้มนี้ ก็คือ วันที่ต่างๆของเดือนนั่นเองครับ เช่นแฟ้ม 17 ก็หมายถึง วันที่17 ของเดือนนี้ครับ



ใช้ยังไง 
  1. ง่ายมากครับ เอกสารใหนของเราต้องใช้ในวันใหน เราก็เอาไปเสียบในช่องของวันนั้นเลยครับ เช่น มีประชุมวันที่ 19 เอกสารต่างๆที่ต้องใช้ในการประชุมก็เสียบในวันที่ 19 
  2. ถ้าเอกสารนั้นใช้ในอีกหลายเดือนข้างหน้า เราก็เอาไปเสียบในเดือนนั้นไว้ก่อน
  3. ทุกเช้า ก็ เปิดดูแฟ้มของวันนี้ว่ามีเอกสารอะไรบ้างที่ต้องใช้
  4. ขึ้นวันใหม่ ก็เอาแฟ้มเมื่อวานไปต่อแถวข้างหน้า
  5. ขึ้นเดือนใหม่ ก็เอาเอกสารทั้งหมดในแฟ้มเดือน มากระจายลงวันต่างๆที่ต้องใช้
จบแล้วครับ ง่ายมั้ยครับ แค่นี้ เอกสารต่างๆ ก็จะไปรอเรา ในวันที่เราต้องการ โดยที่เราไม่ต้องไปปวดหัวคอยจดคอยจำว่า จะใช้อะไรวันใหนบ้าง

ลองดูคลิปข้างล่างนี้ครับ อาจจะช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ^ ^"

Thursday, March 24, 2011

GTD Trick: Pile-File การจัดเก็บเอกสารแบบ เก็บง่าย-หาเจอไว

ผมเป็นคนมีปัญหากับการจัดเก็บเอกสารครับ หลักๆเลยก็ คือ เก็บแล้วหาไม่เจอ

บางทีก็จำไม่ได้ว่าอยู่ตรงใหน พอจะพยายามจัดให้เป็นระบบ ก็มานั่งงงอีกว่าควรจะจัดเข้าหมวดใหน แล้ว พอจะหาอีกก็ดันจำไม่ได้ว่าวันก่อนใส่แฟ้มอะไรไว้

จนมาวันนี้ได้เจอคลิปนึงในยูทูปครับ เค้าแนะวิธีการจัดเก็บเอกสารแบบที่ เก็บง่ายๆ และ หาเจอไว ใช้สมองน้อย (เหมาะกับผมมากครับ) ... ผมเลยจะเอามาแนะำนำให้ดูกัน

หลักการนะครับ

ถ้าได้ดูคลิปยูทูปแล้วจะรุ้เลยว่า เค้าได้ีมีการทำการวิจัยไว้ ว่าการเก็บเอกสารนั้นมีหลักๆอยู่ 2 แบบ ซึ่งเค้าก็วิจัยออกมาแล้ว ได้ผลแบบนี้ครับ

1. File คือการจัดเอกสาร "เป็นหมวดหมู่"
    1. ข้อดี - หาง่าย, ข้อมูลเก็บเป็นระบบ
    2. ข้อเสีย - เหนื่อยในการจัดเก็บ, ต้องคอยรักษาระบบการจัดเก็บไว้, บางทีก็ทำให้ไม่กล้าจะทิ้งเอกสาร, บางทีก็ซักแต่ว่าจัดเก็บโดยไม่สนใจเนื้อหา และ บางทีก็จัดหมวดหมู่เยอะเกินไป

2. Pile คือการจัดเอกสารแบบ "กองทับๆกัน"
    1. ข้อดี - หาข้อมูลล่าสุดได้ทันที (เพราะมันอยู่บนสุด), ไม่ปวดหัวเวลาจัดเก็บ และ ทิ้งง่าย
    2. ข้อเสีย - ระบบนี้จะเริ่มไม่ดีทั้งทีถ้า กองเอกสารสูงเกินไป หรือ เยอะเกินไป

แต่ละแบบก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันครับ แต่ว่าจะดีกว่ามั้ย ถ้าเราจะเอาข้อดีของทั้ง 2 ระบบมารวมกันไปเลยคือ
  1. จัดเํก็บง่าย
  2. เรียงลำดับชัดเจนก่อนหลัง
  3. แบ่งเป็นหมวดหมู่
  4. มีระบบคอยเตือน
  5. หาง่าย
ฟังดูสุดยอดเลยใช้มั้ยครับ ลองมาดูกันว่า ทำยังไง

เค้าได้คิดระบบที่ชื่อว่า Pile-File system ขึ้นมาครับ เป็นการจัดเก็บเอกสารที่เอาทั้งสองลักษณะที่ผมว่าไปแล้วมารวมกัน

วิธีการง่ายมากครับคือ 
  1. ไปหาแฟ้มมา 1 อันครับ ทำใบปะหน้า เขียนเป็นหมวดหมู่ที่เราต้องการจะจัดไว้
  2. มีเอกสารอะไรเข้ามา ก็เจาะรูแล้วเก็บซ้อนทับๆกันไปเลย โดยที่ของใหม่ก็อยู่บน
  3. เอกสารใหนตรงกับหมวดหมู่ใหนที่เราจัดไว้ ก้เอา Post-it อันเล็กๆ มาแปะข้างกระดาษ ให้ตรงแนวเดียวกับ หมวดหมู่ที่เราเขียนไว้ในหน้าแรก
จบแล้วครับ!!!!!!

ที่มารูปครับ http://www.robsprotips.com


ทีนี้เวลาเราจะดูเอกสารที่เกี่ยวกับหมวดใหน เราก็เปิดไปตรงPost-Itที่แปะไว้ของหมวดนั้น อยากรู้ว่าเรื่องใหม่สุด ก็ไปดูที่ Post-it อันบนสุด 

หรือถ้าเรื่องใหนตรงกับหลายหมวด ก็แปะ Post-it ไปสองอันเลยครับ

ทีนี้ แล้วเราจะรู้ยังไงว่า เอกสารในที่ต้องการActionจากเรา ... คนสอนเค้าก็บอกว่า ให้ตั้งหมวดนึงชื่อว่า Action แล้วเอกสารใหนต้องการ Action ก้แปะ Post-it ลงไปให้ตรงกับหมวดนี้ ถ้าทำเสร็จแล้วก็เอาออก

เสร็จแล้วครับ ... เห็นมั้ยครับ ... เก็บง่าย หาเจอไว้ ... สุดยอดมากๆ 

แล้วก็เพื่อที่จะช่วยให้เราหาเอกสารเจอได้ง่ายขึ้น เค้าก็แนะนำให้เราเขียนเลขกำกับไว้ด้วยว่า แผ่นนี้เลขอะไร เวลาเรากลับมาหาอีกที จะได้หาเจอได้ไวขึ้น

ถ้าใครอยากจะศึกษาแบบละเอียด ก็เข้าไปดูได้ใน ยูทูปนี้เลยครับ (เสียงคนสอนชวนง่วงหน่อยนะครับ)


หรือไม่ก็เข้าไปอ่านได้ในเวปของเจ้าของเค้าเลยครับ
http://www.robsprotips.com/

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
GTD Trick: วิธีแก้ลืม

Wednesday, March 23, 2011

GTD Trick: วิธีแก้ลืม

เคยมีมั้ยครับ ที่ว่าเวลาตอนเช้าๆ พอมาถึงที่ทำงาน หรือ ที่มหาลัย แล้วก็ทำโน่นนี่วุ่นวายไปหมด แล้วพอบ่ายๆ ค่อยนึกได้ว่า ไอ้ที่สำคัญที่สุดเนี่ย ยังไม่ได้ทำ!!!




ลุง David Allen เคยสอนเทคนิคอันนึงครับที่ช่วยแก้ปัญหานี้ เทคนิคนี้ลุงเค้าเรียกว่า "วางของทิ้งไว้หน้าประตู" 

ลุงบอกว่า เคยมั้ยตอนเด็กๆที่เราจะต้องเอาของไปโรงเรียน แล้วเรากลัวมากที่จะลืม แบบว่าถ้าลืมเนี่ยโดนครูดุแน่ๆ เราก็จะมักจะหาวิธีกันลืมโดยเอาไอ้ของนั้นหน่ะ วางไว้ที่ประตูบ้าน หรือ ประตูห้อง พอเราตื่นมาก็หยิบมันออกไปได้เลยโดยไม่ต้องกลัวลืม ... วิธีนี้แหล่ะครับ ที่ลุงเค้าแนะนำให้เราเอามาใช้

ลุงเค้าให้เราหาวิีธีอะไรซักอย่าง เอามาเตือนใจเราว่า นี่แหล่ะมันมีสิ่งแรกอยู่ที่สำคัญสุด ๆเราต้องทำอย่างแรกของวันนี้ทันที

แต่ว่าจะหาอะไรมาเตือนใจนั้น อันนี้ลุงไม่ได้บอกไว้ครับ มันเป็นเรื่องของเราเองที่จะต้องคิดเอาเอง ว่าอะไรเหมาะสม

เช่นว่า  มีรายงานต้องรีบพิมพ์ส่ง เราก็อาจจะวางมันไว้หน้าคอม เคลียร์เอกสารอื่นไปวางไกลๆ ... พอเช้ามา เราก็เห็นไอ้รายงานนี้วางรออยุ่แล้ว เราก็หยิบมันขึ้นมาทำเลย 

เทคนิคง่ายๆครับ แต่ช่วยเตือนใจเราได้ดีทีเดียว หลักการต่างๆของ GTD มันก็แบบนี้แหล่ะครับ ง่ายๆ แต่ใช้ได้จริง ไม่ต้องเลิศหรูซับซ้อน ^ ^

ที่มาของรูปครับ http://nurturingyoursuccessblog.com/when-opportunity-does-not-knock/


ปล. เทคนิคนี้ลุงสอนไว้ในหนังสือชื่อ Ready for Anything ครับ

Friday, March 18, 2011

GTD Stage: ฝ่าด่านอรหันต์

GTD เนี่ย พอได้ลองๆใช้ดูแล้ว มันก็เหมือนกับการเล่นเกมส์แบบนึงนะครับ

คือ GTD มันเป็นsystemครับ เค้าได้แบ่งออกเป็น Stage ทั้งหมด 5 Stage ซึ่งเราจะต้องเคลียร์แต่ละ Stage ไปให้ได้ ถึงจะเข้าสู่ชั้นต่อไป มาดูกันครับว่าแต่ละ Stage มีอะไรบ้าง
  • GTD Stage1 - Collect
  • GTD Stage2 - Process
  • GTD Stage3 - Organize
  • GTD Stage4 - Review
  • GTD Stage5 - Do
ทีนี้ลองมาอ่านกันครับว่า แต่ละStage คืออะไร? ผมได้วงๆใน Workflow ให้ดูด้วยนะครับ เพื่อที่ทุกท่านจะได้เข้าใจมากขึ้นว่า แต่ละ Stageนั้นอยู่ตรงใหนของ Workflow


GTD Stage 1 - Collect

ลุง David Allen สอนไว้ครับว่า ตอนแรกสุดเนี่ย เราต้อง List งานทั้งหมดของเรารวมไว้ในที่เดียว โดยในขั้นตอนนี้ เราทำแค่รวบรวมงาน (Task) ทั้งหมด โดยไม่ต้องไปสนใจว่า เราจะต้องทำอะไรกับงานนั้นๆ

ลุงเค้ายังแนะนำต่อว่า เราควรจะมี Inbox เดียว คือ รวบรวมงานทั้งหมดที่ต้องทำในทีีๆเดียว ไม่ใช่ว่าจดใส่โน่นนี้เลอะเทอะไปหมด ... แต่ว่าลุงแกก็ไม่ได้ใจร้ายขนาดนั้น เพราะบางทีเราจดงานในคอมก็สะดวกดี บางทีจดใส่กระดาษก็ง่ายกว่า

ดังนั้นลุงเลยบอกว่า ให้มี Inbox ให้น้อยที่สุดเท่าที่เป็นได้ แต่ว่า ก็มากเพียงพอที่จะเอาไว้จดงานได้ทุกเวลา

อย่างของผมเองก็มี 2 inbox ครับ คือ ในสมุดโน๊ต ไว้จดเวลาไม่ได้อยู่หน้าคอม กับ ในคอม ซึ่งไว้จดบันทึกงานจากอีเมลล์

GTD Stage2 - Process

ทีนี้เมื่อเราจดบันทึกงานหมดแล้ว เราก็คว้าเอาคาถา 4D ที่ผมเล่าไปแล้ว มาใช้ครับ โดยเลือกงานมาพิจารณาทีละชิ้น

ลุงแกแนะนำว่า เวลาพิจารณางานเนี่ย ก็ดูงานจากบนลงล่างไปเลย ง่ายดี แล้วก็ไม่หลุดด้วย ^ ^

GTD Stage3 - Organize

งานที่ผ่านตะแกรง 4D ของเรามาแล้วเนี่ย สิ่งที่จะเหลืออยู่ก็ List 4 ประเภท คือ
  • Project - งานที่ต้องการหลายขั้นตอนกว่าจะเสร็จ
  • Calendar - งานหรือสิ่งที่ต้องทำในวันหรือเวลาที่กำหนดไว้
  • Next Action - สิ่งที่จะต้องทำให้เสร็จทันที 
  • Waiting For - งานที่ต้องรออะไรบา้งอย่างอยู่
ในขั้นตอนนี้ เราก็มาจัดการงานต่างๆ จดบันทึกลงให้เรียบร้อย แต่จริงๆแล้วตอนที่ผมทำนะ ตอนที่เราอยู่ในขั้นที่ 2 คือ Process เนี่ย เมื่อเราพิจารณางานชิ้นนั้นๆแล้วว่าจะทำยังไง เราก็ Organize มันไปในตัว ทำให้ปรกติแล้วพอเสร็จ Process เราก็ Organize ไปเรียบร้อยแล้ว 

GTD Stage4 - Review

Review เนี่ย ก็แบ่งเป็นหลายระดับครับ
  • Daily Review หรือ บ่อยที่สุดเท่าที่ทำไ้ด้ - Calendar กับ Next Action
  • Weekly Review - ทบทวนทุกอย่าง เพื่อทำให้listทั้งหมดนั้นอัพเดทครับ ดูว่ามีอะไรตกหล่นมั้ย
  • Review Long Term Goal - ทบทวนดูว่า โปรเจคของเรายังเป็นไปตามเป้าหมายดีหรือเปล่า
GTD Stage5 - Do

ทีนี้เราก็มาเลือกทำงานแล้วครับ ว่าจะทำอะไรก่อนหลัง อันนี้เราก็มาเลือกเอาเองตามความเหมาะสมครับ ว่าทำอะไรก่อนหลังเพราะอะไร

ลุง David บอกไว้ว่า งานที่จะทำเนี่ย หลักๆก็แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ
  • ทำงานที่วางแผนไว้แล้ว
  • ทำงานด่วนที่แทรกเข้ามา
  • ย้อนกลับไปทำstage ต่างๆของ GTD ใหม่ เพื่อให้ list ของเราอัพเดทครับ
Blog ชักจะเริ่มยาวแล้ว พอก่อนดีกว่า ^ ^"
เดี๋ยวโอกาสหน้า ผมจะมาเล่าลงรายละเอียดของแต่ละ Stage ให้ฟังนะครับ

อ่านบล๊อกผมแล้วอาจจะไม่เข้าใจ เพราะผมก็เีขียนไปเรื่อยๆตามความเข้าใจอ่ะครับ ถ้าเป็นไปไ้ด้ก็ไปหาซื้อหนังสือของลุงเค้ามาอ่านเลยดีกว่าครับ ... ถือว่าเป็นการอุดหนุนลุงเค้าด้วย ^ ^





เรื่องที่เกี่ยวข้อง


แอบดูโต๊ะทำงานของลุง David Allen

ผมไปเจอคลิปนี้มาจาก YouTube ครับ เห็นว่าน่าสนใจดีเลยเอามาฝาก เป็นคลิปโต๊ะทำงานของลุง David Allen ครับ

เราลองมาดูกันสิว่า โต๊ะของเจ้าพ่อ GTD จะเป็นยังไง ^ ^

4D คาถาศักดิ์สิทธิ์ของสาวก GTD

โพสที่แล้วผมเล่าเรื่อง Workflow ของ GTD (Getting Things Done) ไปแล้วแบบคร่าว(มากๆ) ความจริงโพสนี้ก็กะว่า จะมาเล่าให้ฟังถึงรายละเอียดของ Workflow แต่คิดไปคิดมาแล้วผมว่า เรามาคุยกันถึงคาถาของสาวก GTD กันก่อนดีกว่า

คาถานี้ชื่อว่า 4D ครับ ...​ คาถานี้ถือว่าเป็นหัวใจของ GTD เลยทีเดียว ถ้าใครเข้าใจแล้ว ก็สามารถประยุกต์เอา GTD ไปใช้ได้ตามต้องการ ... เหอๆๆ ฟังดูเว่อร์ดีมั๊ย ^ ^ ...

ที่มารูปครับ
http://www.hsc.csu.edu.au/entertain/industry/core/manage/3457/time.htm

ลองมาดูกันครับว่า  4D คืออะไร

ขอเท้าความนิดหน่อยครับ ... เรื่องมันมีอยู่แบบนี้ครับ คือว่า เวลาเราทำงานเนี่ย GTD เค้าสอนให้เราบันทึกงาน (Task) ที่จะต้องทำทั้งหมดลงใน inbox โดยเราไม่ต้องไปคิดหรือจัดการอะไรทั้งสิ้น ประมาณว่า จดๆๆๆๆลงไปให้หมด ซึ่ง inbox นี้ จะเป็นกระดาษ เป็นไฟล์word หรืออะไรก็ได้ ไม่ต้องสนใจมาก หน้าที่ของเราคือ จดทุกอย่างที่ต้องทำเท่าที่นึกได้ทั้งหมดลงไป

ตอนนี้เราก็จะได้งานทั้งหมดที่ต้องทำละ แล้วเราจะทำยังไงกับมันหล่ะทีนี้

ลุง David Allen เค้าสอนว่า ให้หยิบงานขึ้นมาดูทีละชิ้น พร้อมทั้งให้บริกรรมคาถา 4D ซึ่งคาถานี้ก็คือ ขั้นตอนการจัดการงาน (Task) 4 ขึ้น ได้แก่

  1. Delete -  ถ้างาน (Task) นี้ไม่ความสำคัญกับชีวิตเรา ขยำมันทิ้งไป แล้วลืมมันซะ
  2. Do - ทำงานทันทีเลย ถ้าเป็นงานขั้นตอนเดียว และ สามารถทำเสร็จใน 2 นาที
  3. Delegate - ถ้างานนี้ต้องการActionจากคนอื่น เราถึงจะทำต่อได้ ก็ให้ส่งต่อให้คนนั้น แล้วบันทึกเป็น "Waiting For" ไว้
  4. Defer - ตอนนี้งานที่เหลืออยู่จะเป็น งานที่ต้องการActionจากเราและใช้เวลาทำมากกว่า 2 นาที หรือว่า งานที่ต้องการหลายขั้นตอนกว่าจะเสร็จ ... งานเหล่านี้ ลุง Allen บอกว่า ให้เราเขียนว่า Next Action ของมันคืออะไร แล้วจดไว้
เราจะใช้คาถา 4D นี้กับงานทีละชิ้น จนหมด ทีนี้ในตอนสุดท้ายเราจะมีงานบางส่วนที่ได้ทิ้งไปแล้ว หรือ ทำเสร็จไปแล้ว โดยงานที่เหลืออยู่ก็จะมีแค่ 
  1. งานที่รอActionจากชาวบ้าน กับ 
  2. งานที่เราต้องทำเอง ซึ่งเราก็ได้list ไว้หมดแล้ว่า Next Action ของงานแต่ละชิ้นมีอะไรบ้าง 
ทีนี้เราก็ค่อยมาดูที่ Next Action ของเรา แล้วก็เลือกเอาว่า เราจะทำอะไรก่อนหลัง

จบแล้วครับ คาถา 4D สำหรับชาว GTD ผมก็หวังว่า ทุกๆท่านคงจะเข้าใจได้ไม่ยาก ที่ผมเล่าไปนี้ก็เป็นคำอธิบายแบบคร่าวๆอ่ะครับ อยากเข้าใจแบบลึกๆ ก็ลองไปดูที่ Workflow (จากโพสที่แล้ว) ได้ครับ หรือถ้าจะให้ดี ก็ซื้อหนังสือของลุงมาอ่านเลยครับ ^ ^


เรื่่องที่เกี่ยวข้อง


GTD Stage: ฝ่าด่านอรหันต์

GTD: Workflow นี้คือไฉน?

ลุง Allen ได้สอนเราไว้ครับว่า หลักของ GTD คือ เราจะทำงานปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าเราไม่ต้องไปค่อยพะวงถึงงานอื่นๆ และ เราจะไม่พะวงถึงงานอื่นๆได้ ก็ต่อเมื่อ เรามั่นใจว่า งานที่ยังไม่ได้ทำนั้น จะถูกทำในเวลาที่เหมาะสม

งงมั้ย? ..... สรุปคือ ถ้าเรามีระบบจัดการอะไรซักอย่างที่เราไว้ใจแล้ว เราก็จะไม่กังวลถึงงานที่ยังไม่ได้ทำ เพราะเรามั่นใจแล้วไง ว่าเดี๋ยวงานนั้นได้ทำแน่ ไม่มีพลาด ..... ถ้ายังงงก็ไม่เป็นไร เพราะผมก็งงอยู่เหมือนกันตอนอ่าน GTD ครั้งแรกๆ ^ ^"

ทีนี้ ลุงเค้าได้สอนครับ ว่าระบบที่ไว้ใจได้นั้นเป็นยังไง ลองมาดูกันครับ

อันนี้เป็นรูป Workflow ของ GTD ที่ดูแล้วเข้าใจง่ายมากเลยครับ ไม่เยอะไป ไม่น้อยไป กำลังดีเลย แต่ถ้าใครอยากจะดูแบบละเอียดๆ หรือ เป็นภาพสี ก็หาในgoogleได้ มีเพียบ!!!


เดี๋ยวไว้ผมจะมาอธิบายในpostหน้านะครับ ว่าWorkflowนี้ทำงานอย่างไร ^ ^

Thursday, March 17, 2011

เรียนGTDฟรี กับลุง David Allen


ลุง David Allen ได้เคยไปสอนเรื่อง GTD ให้กับพนักงาน Google ครับ

ทีนี้ทางGoogleเค้าก็ได้อัดวิดีโอไว้ แล้วก็ได้เมตตาเอามาแชร์ลงใน Youtube ซึ่งก็ถือว่าเป็นบุญของพวกเราเลยครับ ที่ทำให้ได้มีสิทธิ์ฟังคุณลุงเค้าสอนเรื่อง GTD

ลุงเค้าสอนได้สนุก และ เนื้อหาละเอียดเข้าใจง่ายมากครับ ลองฟังกันดูนะครับ ภาษาอังกฤษที่ลุงเค้าพูดก็ไม่ได้ฟังยากอะไรเท่าไหร่



เทคนิคบริหารเวลาด้วย GTD

GTD ย่อมากจากคำว่า Getting Things Done ครับ

Getting Things Done เนี่ยเป็นระบบการจัดการการทำงานครับ (Time Management) ครับ ที่ถูกคิดค้นมาโดยคุณลุง David Allen

หลักการคร่าวๆที่ลุงเค้าสอนไว้ก็คือ คนเรานั้นจะยังหยุดคิดเรื่องงานไม่ได้ ตราบเท่าที่เรื่องงานนั้นยังไม่ได้รับการจัดการอะไรซักอย่าง ซึ่งผลการจากเราต้องพะวงถึงงานนั้น จะทำให้เราทำงานที่กำลังทำอยู่ได้ไม่ดี และก็นำไปสู่ความเครียดในที่สุด!!!

ลุงแกบอกว่า ที่เราหยุดคิดเรื่องงานไม่ได้เนี่ย หลักๆก็เพราะว่า เรายังจะต้องคิดว่าต้องทำอะไรกับงานนั้นๆบ้าง อาจจะกลัวลืมทำบ้าง เป็นต้น ที่นี้มันก็เครียด แต่ว่าถ้าเรามีระบบอะไรซักอย่างที่สมองของเรามั่นใจว่า เมื่อเอางานนี้เข้าไปในระบบนี้แล้ว งานนั้นจะได้รับการทำอย่างเหมาะสมในเวลาที่ถูกต้อง ที่นี้เราก็จะสามารถมาจดจ่อและตั้งใจทำงานปัจจุบันได้อย่างเต็มที่

สโลแกนของลุงคือ Getting Things Done: The Art of Stress-Free Productivity ...​. ฟังดูเท่ห์ดีทีเดียวเลยนะ
แล้วทีนี้เราจะไม่เครียดได้ยังไงหล่ะ? ลุงAllenได้สอนไว้ครับ โดยแบ่งออกได้เป็น 2 เรื่องหลักๆคือ

  1. Control 
    1. GTD นั้นได้มีระบบการจัดการงาน (Work Flow) ที่เอาไว้จัดการงานทุกประเภท!!!
    2. GTD ได้แนะนำระบบการจัดเก็บข้อมูล เอกสารต่างๆ ให้เราเก็บได้ง่าย หาเจอได้ง่าย ดั่งพลิกผ่ามือ!!!
  2. Perspective
    1. GTD ได้แนะนำระดับของมุมมองในการใช้ชีวิต โดยแบ่งไว้ถึง 6 ระดับ อันนี้จะช่วยให้เราเข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า อะไรคือสิ่งท่ีสำคัญ สำหรับช่วยในการตัดสินใจ
แต่ว่า แต่อันนั้นมีรายละเอียดอะไรบ้าง เดี๋ยวผมจะมาทะยอยเล่ให้ฟังครับ  ^ ^



ผมอยากจะแนะนำให้ทุกท่านหาซื้อหนังสือเล่มนี้มาเก็บไว้อ่านเลยครับ อยากจะบอกว่าเป็นหนังสือที่ทุกคนต้องมีไว้ข้างกาย เพราะมันช่วยเหลือชีวิตของเราได้จริงๆครับ

ลิ้งด้านล่างนี้เป็นลิ้งจาก Amazon ครับ
Getting Things Done: The Art of Stress-Free Productivity

ที่มาของ Blog

ผมทำงานเป็นวิศวกรธรรมดาครับ ชีวิตในแต่ละวันของผมค่อนข้างยุ่งมาก มีอีเมลล์เข้ามาวันนึงๆนับไม่ถ้วน มีงานหลักที่ต้องทำให้เสร็จตามเวลาที่กำหนด แถมมีงานแทรกเข้ามาเป็นระยะ ทั้งเป็นปัญหาที่ต้องแก้ทันที หรือเป็นพวกคำขอร้องจากแผนกอื่นๆ

ที่มีผมก็เกิดเป็นปัญหาขึ้นมาครับ คือ ทำงานไม่ทัน!!! งานมันล้นมือไปหมด ทุกอย่างดูมีความสำคัญไปหมด เลือกทำไมถูก สิ่งที่ควรจะทำ ก็ไม่ได้ทำ เพราะมัวแต่เสียเวลาทั้งวันไปกับงานแทรกบ้าง หรือ ทำงานที่คิดว่าสำคัญ(แต่ไม่สำคัญจริง)บ้าง งานที่ทำไปก็เหมือนกับดับเพลิงอ่ะครับ ทำได้ ดับแค่ไฟเฉพาะหน้า แต่ไม่ได้ไปดับไฟที่ปัญหาจริงๆ

ช่วงนั้นกลับบ้านดึกครับ แล้วก็มาทำงานแต่เช้าด้วย แต่ว่างานก็ไม่เคยหมดซักที ยอมรับเลยครับว่าเครียดมาก จนถึงขนาดต้องไปหาหมอ และคุณหมอท่านก็แนะนำให้พักการทำงานลง และ ปล่อยวางงานซะบ้าง ...​ ซึ่งผมก็ปล่อยวางงานไม่ค่อยได้ครับ แบบว่าจิตใจมันคิดถึงแต่เรื่องงาน

จริงๆแล้วตอนนั้นผมก็มีระบบจัดการทำงานของผมนะ แต่มันเป็นแค่ Todo List แบบง่ายๆ ที่ตอนหลังก็เป็น List ที่วุ่นวายสับสนไปหมด ... ผมเลยตัดสินใจค้นคว้าดูในอินเตอร์เนตว่า เค้ามีวิธีจัดการเวลา จัดการการทำงานแบบใหนบ้างมั้ย ที่ทำได้ง่ายๆ และ ได้ผลดี

ซึ่งผมก็ได้มาเจอกับวิธีการจัดการที่เรียกว่า "Getting Things Done" ครับ หรือเรียกย่อๆว่า "GTD" ระบบนี้เป็นระบบที่ฝรั่งเค้าชอบกันมาก อ้างอิงถึงเยอะ ผมเลยลองทำตามดู แล้วก็พบว่า ชีวิตผมดีขึ้นเยอะเลยที่เดียว

แต่ที่ผมเซ็งอยู่อย่างเดียวคือ ผมหาเวปภาษาไทยเกี่ยวกับเรื่องนี้ไม่ค่อยเจอเลยครับ เลยตัดสินใจทำบล๊อกเกี่ยวกับ GTD ขึ้นมาซะเลย ... ผมก็ไม่ใช้ผู้เชี่ยวชาญอะไรนักหรอกนะครับ ที่จะทำก็คือ ศึกษาไปเขียนไป ^ ^ มีอะไรแนะนำ ก็เชิญเลยนะครับ ถือว่าแลกเปลี่ยนกัน